ตามที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ลงนามในกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งสร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ.2558 โดยกฎกระทรวงดังกล่าว มีขึ้นเนื่องจากบทบัญญัติ “อาคาร” ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หมายถึงป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายด้วย แต่ลักษณะโครงสร้างและการใช้สอยของป้ายแตกต่างจากอาคารทั่วไป ซึ่งข้อกำหนดหรือกฎกระทรวงที่ใช้บังคับกับอาคารไม่อาจใช้บังคับกับกรณีของป้ายได้เหมาะสม หรือยังไม่มีข้อกำหนดสำหรับป้ายเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นการรวบรวมและปรับปรุงข้อกำหนดในเรื่องป้ายให้เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของป้ายในสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
มีข้อกำหนดที่สำคัญ เช่น ข้อ 17 ต้องจัดให้มีระบบไฟฟ้าแสงสว่างส่องแผ่นป้ายหรือป้ายที่ใช้ระบบไฟฟ้าและมีแสงสว่างในตัวเอง แสงสว่างที่ออกจากป้ายจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญบริเวณข้างเคียง และไม่รบกวนการมองเห็นสภาพจราจรของผู้ขับขี่ยานพาหนะจนอาจส่งผลต่อการควบคุมหรือขับขี่ยานพาหนะ
นอกจากนี้ในหมวด 10 ข้อ 23 ระบุว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งหรือป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ป้ายตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป ให้มีหน้าที่ดังนี้
(1) ต้องจัดให้มีตัวอักษรแสดงเลขที่ใบรับรองการตรวจสอบ ในกรณีที่ยังไม่มีใบรับรองการตรวจสอบป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายให้แสดงเลขที่ใบอนุญาตก่อสร้างแทน รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และมีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 20 เซนติเมตร แสดงไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ชัดเจนในบริเวณด้านหน้าป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย
(2) ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการต้องทำการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก พ.ศ. 2548
ขณะที่ในหมวด 11 ข้อ 24 ระบุว่า ในกรณีที่ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงอันอาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายดำเนินการแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่ง ในกรณีมีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีกก็ได้
ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายดำเนินการเพื่อบรรเทาเหตุที่อาจก่อให้เกิดภยันตรายดังกล่าวได้ทันทีตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด หรือสั่งห้ามมิให้ใช้ป้ายนั้นจนกว่าจะมีการแก้ไข
ทั้งนี้ตามบทเฉพาะกาล ข้อ 27 กำหนดว่า ให้ผู้ดำเนินการ ผู้ครอบครอง หรือเจ้าของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับใบแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือก่อสร้างดัดแปลงแล้วเสร็จไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตามข้อ 23 (1) ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ 31 ) ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท มาตรา 66 ทวิ ความผิด ไม่รื้อถอนตามคำสั่ง จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โทษปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท มาตรา 70 ความผิดเพื่อพาณิชยกรรม หรือเป็นการกระทำในทางการค้า เพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ ขาย หรือ จำหน่ายโดยมีค่าตอบแทน โทษปรับเป็น 2 เท่าของโทษตามมาตรานั้น
การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งป้ายโฆษณา
หรือสิ่งอื่นใดที่รุกล้ำทางสาธารณะ
กฎหมายเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนทางสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ กฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างป้ายบนอาคาร และบนพื้นดินป้ายบนอาคารตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (3) ป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้ง หรือตั้งป้าย
(ก) ที่ติด หรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะ และมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตร หรือมีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม
(ข) ที่ติด หรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะ ซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้ว ระยะห่างจากที่สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้น เมื่อวัดจากพื้นดิน และมีขนาด หรือน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 23 ( พ.ศ. 2533 )
ให้ป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติด หรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะ ซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้วระยะห่างจากที่สาธารณะ มีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน และมีขนาดความกว้างของป้ายเกินห้าสิบเซนติเมตร หรือยาวเกินหนึ่งเมตร หรือเนื้อที่ของป้ายเกินห้าพันตารางเซนติเมตร หรือมีน้ำหนักของป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับ หรือติดตั้งป้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินสิบกิโลกรัมเป็นอาคารตาม มาตรา 4
กฎกระทรวงกำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคารตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคารพ.ศ. 2544
สิ่งที่สร้างอย่างอื่น ที่มีความสูงจากระดับฐานตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
ตามกฎกระทรวง 55 ( พ.ศ. 2543 ) ข้อ 8 ป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติด หรือตั้งป้ายบนหลังคา หรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และส่วนบนสุดของป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติด หรือตั้งป้ายต้องสูงไม่เกิน 6 เมตร จากส่วนสูงของหลังคา หรือดาดฟ้าของอาคารที่ติดตั้งป้ายนั้น
ข้อ 13 ป้ายที่ติดตั้งอยู่บนดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัด จากจุดที่ติดตั้งป้าย ไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะ ที่อยู่ใกล้ป้ายนั้นที่สุด และมีความยาวของป้ายไม่เกิน 32 เมตร
บทกำหนดโทษ
มาตรา 65 ความผิด ก่อสร้างโดยมิได้รับอนุญาต หรือก่อสร้างผิดแบบ ( มาตรา 21 , มาตรา 31 ) ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท
มาตรา 66 ทวิ ความผิด ไม่รื้อถอนตามคำสั่ง จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โทษปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท
มาตรา 70 ความผิดเพื่อพาณิชยกรรม หรือเป็นการกระทำในทางการค้า เพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อ ขาย หรือ จำหน่ายโดยมีค่าตอบแทน โทษปรับเป็น 2 เท่าของโทษตามมาตรานั้น